ยินดีต้อนรับ

โครงสร้างโลก

 นักธรณีวิทยาแบ่งโครงสร้างภายในของโลก โดยพิจารณาจากองค์ประกอบทางเคมี ออกเป็น 3 ส่วน ดังภาพที่ 1

ภาพที่ 1  โครงสร้างโลกแบ่งตามองค์ประกอบทางเคมีเปลือกโลก (Crust)  เป็นผิวโลกชั้นนอก มีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นซิลิกาไดออกไซด์ และอะลูมิเนียมออกไซด์ ประกอบด้วยเปลือกโลกทวีปและเปลือกโลกมหาสมุทร
เปลือกโลกทวีป (Continental crust)  ส่วนใหญ่เป็นหินแกรนิต มีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็น ซิลิกอน อะลูมิเนียม และออกซิเจน มีความหนาเฉลี่ย 35 กิโลเมตร  ความหนาแน่น 2.7 กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร

เปลือกโลกมหาสมุทร (Oceanic crust)  ส่วนใหญ่เป็นหินบะซอลต์ มีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็น มีเหล็ก แมกนีเซียม ซิลิกอน และออกซิเจน ความหนาเฉลี่ย 5 กิโลเมตร   ความหนาแน่น 3  กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร มากกว่าเปลือกทวีป  ดังนั้นเมื่อเปลือกโลกทั้งสองชนกัน เปลือกโลกทวีปจะถูกยกตัวขึ้น ส่วนเปลือกโลกมหาสมุทรจะจมลง และหลอมละลายเป็นแมกมาอีกครั้ง
เนื้อโลก (Mantle)  คือส่วนซึ่งอยู่อยู่ใต้เปลือกโลกลงไปจนถึงระดับความลึก 2,900 กิโลเมตร   มีองค์ประกอบหลักเป็นซิลิคอนออกไซด์ แมกนีเซียมออกไซด์ และเหล็กออกไซด์ แบ่งออกป็น 3 ชั้น ได้แก่  
เนื้อโลกตอนบนสุด (Uppermost sphere)  มีสถานะเป็นของแข็ง เป็นฐานรองรับเปลือกโลกทวีป และเปลือกโลกมหาสมุทร อยู่ใต้แนวแบ่งเขตโมโฮโรวิชิก เรียกโดยรวมว่า ธรณีภาค (Lithosphere) มีความหนาโดยรวมประมาณ 30 – 100 กิโลเมตร 

เนื้อโลกตอนบน (Upper mantle) หรือบางครั้งเรียกว่า ฐานธรณีภาค (Asthenosphere) อยู่ที่ระดับลึก 100 – 700 กิโลเมตร มีึลักษณะเป็นของแข็งเนื้ออ่อน  อุณหภูมิที่สูงมากทำให้แร่บางส่วนหลอมละลายเป็นหินหนืด (Magma) เคลื่อนที่หมุนวนด้วยการพาความร้อน (Convection) 

เนื่อโลกตอนล่าง (Lower mantle) มีสถานะเป็นของแข็งที่ระดับลึก 700 – 2,900 กิโลเมตร มีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นเหล็ก แมกนีเซียม และซิลิเกท 
        แก่นโลก (Core)
  คือส่วนที่อยู่ใจกลางของโลก มีองค์ประกอบหลักเป็นเหล็ก แบ่งออกเป็น 2 ชั้น แก่นโลกชั้นนอก (Outer core) เป็นเหล็กในสถานะของเหลว เคลื่อนที่หมุนวนด้วยการพาความร้อน (Convection) ที่ระดับลึก 2,900 – 5150 กิโลเมตร เหล็กร้อนเบื้องล่างบริเวณที่ติดกับแก่นโลกชั้นในลอยตัวสูงขึ้น เมื่อปะทะกับแมนเทิลตอนล่างที่อุณหภูมิต่ำกว่าจึงจมตัวลง การเเคลื่อนที่หมุนวนเช่นนี้เหนี่ยวนำให้เกิดสนามแม่เหล็กโลก  

แก่นโลกชั้นใน (Inner core) ที่ระดับลึก 5,150 กิโลเมตร จนถึงใจกลางโลกที่ระดับลึก  6,370 กิโลเมตร ความดันมหาศาลกดทับทำให้เหล็กมีสถานะเป็นของแข็ง

tcasคือ

TCAS คือ เป็นระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยระบบใหม่ โดย TCAS มีชื่อเต็มว่า Thai University Center Admission System ทั้งนี้ระบบการสอบแบบนี้เพื่อลดการสอบลง เหลือแค่การสอบกลางที่จัดสอบโดย สทศ. เพียง 3 อย่างเท่านั้น ได้แก่ GAT PAT , 9 วิชาสามัญ และ ONET และน้อง ๆ ที่สนใจจะสอบเข้าในอาชีพสายแพทย์ ก็จะมีการสอบความถนัดแพทย์ ที่จัดโดย กสพท. เข้ามาเพิ่ม ซึ่งจะเริ่มนำมาใช้ในปีการศึกษา 2561 เป็นระบบที่ออกแบบโดยที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.)

GAT / PAT จะสอบในช่วงเดือนกุมภาพันธ์

O-NET , 9 วิชาสามัญ จะสอบในช่วงเดือนมีนาคม

กสพท. และ วิชาเฉพาะของแต่ละมหาวิทยาลัย จะสอบในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ – เมษายน

การคัดเลือกของ TCAS จะมีด้วยกันทั้งหมด 5 รอบ โดยจะใช้เกณฑ์ดังต่อไปนี้

รอบที่ 1 คัดเลือกโดยการส่งแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) ไม่มีการสอบข้อเขียน และไม่ได้เป็นการรับทั่วไป แต่จะดูผลงานและความสามารถเป็นหลัก ซึ่งแต่ละมหาวิทยาลัยจะคัดเลือกนักเรียนจำนวนหนึ่ง อาจจะมีการสัมภาษณ์หรือทดสอบทักษะเฉพาะทาง

– ช่วงที่เปิดรับสมัคร เดือนธันวาคม – มกราคม

รอบที่ 2 สมัครโควตาแบบมีสอบข้อเขียน สำหรับนักเรียนในพื้นที่ ที่ทางมหาวิทยาลัยกำหนดและสามารถจัดสอบเองได้เลย หรือจะใช้ข้อสอบส่วนกลาง เช่น 9วิชาสามัญ หรือ GAT/PAT เพื่อคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษา

– ช่วงที่เปิดรับสมัคร เดือนกุมภาพันธ์ – เมษายน

รอบที่ 3 การรับตรงร่วมกัน เป็นการรับตรงของแต่ละมหาวิทยาลัย ซึ่งโครงการรับตรงอย่าง กสพท. ก็รวมอยู่ในรอบนี้ด้วย โดยที่ทปอ. จะเป็นส่วนกลางในการรับสมัคร และมหาวิทยาลัยจะพิจารณาผลการคัดเลือก โดยผู้สมัครสามารถเลือกได้ 4 สาขาวิชา โดยไม่มีการเลือกอันดับ

– ช่วงที่เปิดรับสมัคร เดือนเมษายน – พฤษภาคม

รอบที่ 4 การรับแบบ Admission เป็นการใช้เกณฑ์การคัดเลือกแบบ Admission ปีที่ผ่านๆมา โดยใช้ทั้งคะแนน GPAX, O-NET, GAT/PAT หรือคะแนนอื่นๆที่ทางมหาวิทยาลัยเป็นผู้กำหนด ซึ่งผู้สมัครสามารถเลือกได้ 4 สาขาวิชาโดยมีการเลือกลำดับ

– ช่วงที่เปิดรับสมัคร เดือนพฤษภาคม – มิถุนายน

รอบที่ 5 การรับตรงแบบอิสระ ทางมหาวิทยาลัยเป็นผู้กำหนดขึ้นเองหรือการสอบวิชาเฉพาะ และส่งผลการคัดเลือกให้ทาง ทปอ.

– ช่วงที่เปิดรับสมัคร เดือนพฤษภาคม – มิถุนายน

เคลียริ่งเฮาส์ คือ ระบบที่ใช้ยืนยันสิทธิ์รับตรงร่วมกันของแต่ละมหาวิทยาลัย ซึ่งในระบบ TCAS เองนั้นใช้ในการยืนยันสิทธิ์ในแต่ละรอบๆไป เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาการกั๊กที่นั่งของผู้ที่สอบผ่านการคัดเลือกหลายที่ ถ้าหากสอบติดรอบใดรอบหนึ่งแล้วกดยืนยันสิทธิ์ก็จะไม่สามารถที่จะสมัครรอบถัดไปได้นั้นเองค่ะ.

TCAS PRIVATE Course

หากน้องๆ คนไหนกำลังเตรียมตัวติวสอบของ TCAS ไม่ว่าจะเป็น O-NET GAT/PAT หรือว่า 9วิชาสามัญ ทางจุฬาติวเตอร์มีคอร์ส Private ที่เน้นไปทางด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาอังกฤษ ที่จะช่วยน้องๆ ตั้งแต่การปูพื้นฐานไปจนถึงทริคต่างๆ ที่ใช้ในการทำข้อสอบ ครอบคลุมทุกเนื้อหาไปจนถึงตะลุยโจทย์ และยังสามารถนำไปประยุกต์สอบกับวิชาที่เกี่ยวข้องได้อีกด้วย ซึ่งช่วยประหยัดเวลาและช่วยเพิ่มคะแนนให้ออกมาดีและเพียงพอสำหรับยื่นคณะต่างๆ แน่นอนว่าเราจะมีโอกาสได้มากกว่าคนที่ยังไม่มีการเตรียมตัวหรือเตรียมตัวช้า หากมีสิ่งที่กังวลหรือพื้นฐานอ่อนก็หายห่วงได้ เพราะคอร์สเรียนของเราเน้นคอนเซ็ป easy to be expert ไม่เก่งก็สามารถเรียนได้ เรียนง่ายเน้นความเข้าใจ เนื่องจากยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ สามารถยืดหยุ่นได้ ปรับจุดอ่อนให้เป็นจุดแข็ง จะเรียนเดี่ยวๆแบบตัวต่อตัวหรือจะรวมกลุ่มกับเพื่อนมา 2-3 คนก็ได้นะคะ ที่สำคัญติวเตอร์ผู้สอนมีความเชี่ยวชาญและเป็นกันเองมากๆ สามารถสอบถามได้ทุกเมื่อ มาเพิ่มโอกาสให้ตัวเรามีทางเลือกให้มากขึ้นด้วยคอร์สเรียนสุดพิเศษนี้กันดีกว่า